วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หวานเป็นยา


น้ำผึ้งถือเป็นหนึ่งในของขวัญที่หลายคนจะนึกถึงเพื่อมอบให้กับญาติมิตรในเทศกาล คริสต์มาสและปีใหม่ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เก็บได้นาน แถมนำไปรับประทานได้หลากรูปแบบ แต่ก่อนจะเลือกของขวัญจากธรรมชาติชนิดนี้ ลองมาดูสรรพคุณของน้ำผึ้งกันอีกที เผื่อเอาไว้บอกกล่าวเล่าสู่ให้เป็นมูลค่าเพิ่มสำหรับวันพิเศษที่กำลังจะมาถึง.....
น้ำผึ้ง เกิดจากการที่ผึ้งลำเลียงน้ำจากเกสรดอกไม้ที่เป็นน้ำหวานจากธรรมชาติ แล้วใช้กรด Enzyme ใน ห้องผึ้งเพื่อเปลี่ยนเกสรดอกไม้เหล่านั้นให้เป็นน้ำผึ้ง ดังนั้น น้ำผึ้งจากแต่ละแหล่งจึงแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบแต่ละชนิด และน้ำผึ้งที่ได้จากรังผึ้งในป่าใหญ่จึงมีความสมบูรณ์และมีแร่ธาตุอาหารแตก ต่างจากผึ้งเลี้ยง ซึ่งจะมีการเติมน้ำหวานจากน้ำตาลและเกสรเทียมทำให้คุณค่าลดน้อยลงไปน. พ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล เขียนคอลัมน์ แพทย์แผนจีน ลงในเว็บไซต์มูลนิธิหมอชาวบ้าน โดยอ้างถึงคัมภีร์ชื่อ เปิ่น-เฉา-กัง-มู่ ที่เขียนโดย หลี่สือเจิน ว่ามีการกล่าวถึงความแตกต่างของน้ำผึ้งที่ได้จากเกสรดอกไม้ชนิดต่าง ๆ กัน ทำให้มีสรรพคุณแตกต่างกันด้วย เช่น น้ำผึ้งจากเกสร ดอกลำไย บำรุงและเลือด บำรุงสมอง ช่วยความจำ ทำให้นอนหลับ น้ำผึ้งจากเกสร ดอกลิ้นจี่ แก้กระหาย กระตุ้นน้ำลาย บำรุงหัวใจและไต น้ำผึ้งจากเกสร เบญจมาศป่า ขับร้อนขับไฟ ขับลมแก้พิษ น้ำผึ้งจากเกสร อบเชยป่า ขับร้อนกระตุ้นความอยากอาหาร บำรุงม้าม บำรุงประสาท น้ำผึ้งจากเกสรของ ส้ม ลดบวม-ขับพิษ แก้กระหายน้ำมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งมานาน หลักฐานเก่าแก่สุดที่ถูกค้นพบ คือภาพเขียนผนังถ้ำวาเลนเซียในประเทศสเปนอายุกว่า 10,000 ปี ที่เป็นภาพผู้หญิงกำลังปีนบันไดซึ่งพาดอยู่กับต้นไม้ มือหนึ่งถือตะกร้า อีกมือเอื้อมคว้ารวงผึ้งที่ห้อยอยู่กับกิ่งไม้อีกหลายชาติมีการบันทึกเรื่องราวของน้ำผึ้งไว้ในประวัติศาสตร์ รวมทั้งในด้านศาสนา โดยความเชื่อฮินดู น้ำผึ้งถือเป็นหนึ่งในยาอายุวัฒนะ และถูกนำมาใช้เพื่อบูชาพระเจ้า ไบเบิลก็เขียนถึงน้ำผึ้งว่าเป็นอาหารที่มีสรรพคุณในทำนองเดียวกัน ขณะที่พุทธประวัติมีบันทึกเรื่องของน้ำผึ้งว่าเป็นส่วนผสมในข้าวมธุปายาส ซึ่งถวายแด่พระพุทธเจ้าช่วยให้พระวรกายของพระองค์กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงในทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้น้ำผึ้งผสมผงอบเชย เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกายมานานหลายศตวรรษ ด้านตำราจีนของ หลี่สือเจิน บันทึกสรรพคุณ 5 ประการของน้ำผึ้งกล่าวคือ ขับร้อน บำรุงส่วนกลาง (กระเพาะอาหารและม้าม) ขับพิษ รักษาแผล ทำให้ชุ่มชื่นลดความแห้งแก้ไอ และแก้ปวดขณะที่แพทย์แผนไทยใช้น้ำผึ้งเพื่อช่วยแต่งรสยา ให้ยามีรสอร่อยขึ้นและช่วยชูกำลัง อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในน้ำกระสายยา ที่ช่วยทำให้ตัวยาดูดซึมเร็วขึ้น และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของไตและกระจายเลือด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังมากขึ้น บางครั้งน้ำผึ้งถูกนำมาผสมกับยาปั้นเป็นลูกกลอนอีกด้วยตำนานและเรื่องเล่าทางศาสนาดูเหมือนจะอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์ ของยุคปัจจุบัน ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่า น้ำผึ้งแท้มีองค์ประกอบของน้ำตาล Dextrose และ Fructose ราวร้อยละ 50-90 ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและทางยาสูงกว่าน้ำตาล Sucrose ซึ่ง มีอยู่ประมาณร้อยละ 0.1-10 นอกจากนี้น้ำผึ้งยังอุดมด้วยวิตามินนานาชนิด เช่น วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินอี วิตามินเค และวิตามินซีจากธรรมชาติ รวมทั้งสารอาหารอื่น ๆ ได้แก่ กรดอะมิโน กรดไขมัน และเกลือแร่ต่างๆ อย่างสังกะสี และทองแดงในอเมริกาและแคนาดา มีการรักษาและป้องกันโรคหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานขนมปังทาน้ำผึ้งผสมผงอบเชยทุกวัน นอกจากจะช่วยลดคอเลสเตอรอลแล้ว ยังช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติข้อมูลจากมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวถึงสรรพคุณของน้ำผึ้งสำหรับท่านชายที่สมรรถภาพหย่อนยาน ว่าน้ำผึ้งเพียว ๆ รับประทานวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก่อนนอนเป็นประจำทุกวัน น้ำผึ้งจะช่วยให้เชื้ออสุจิคึกคักขึ้น ถ้าย้อนไปดูสูตรโบราณมีการดองกล้วยน้ำว้ากับน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มพลังบำรุงร่างกายด้วยเช่นกันมีคำแนะนำเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับประทานน้ำผึ้ง ได้แก่1. ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าดื่มโดยผสมน้ำอุ่น จะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร และทำให้กรดในกระเพาะอาหารเจือจาง ลดการระคายเคือง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล ถ้าดื่มโดยผสมน้ำเย็นจะมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้กระตุ้นการถ่ายอุจจาระ2. ควรดื่มหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง เพราะการดื่มหลังอาหารทันที จะทำให้มีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดให้สูงมากยิ่งขึ้น ทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก อีกทั้งจะเป็นการกระตุ้นน้ำย่อยกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้นอีก3.ควรดื่มก่อนนอน เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง และนอนหลับยากหวานอร่อย แถมมีสารพัดสรรพคุณ เทศกาลแห่งความสุขที่กำลังจะมาถึง ถ้ากำลังมองหาของขวัญเพื่อคนพิเศษ น้ำผึ้งจึงอาจเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจที่มา วิชาการ.คอม

ไม่มีความคิดเห็น: