วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
หูเสื่อม
มีเพลงติดตัวไปทุกที่ คือนิยามของคนเมืองสมัยนี้.....
จากการสำรวจโดยห้องปฏิบัติการทดสอบด้านเสียงนานาชาติของประเทศออสเตรเลีย พบว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ติดการฟังเพลงจากเครื่องเล่นพกพา มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียการได้ยิน เช่นเดียวกับการวิจัยของสถาบันเพื่อคนหูพิการในอังกฤษ ก็คาดเดาว่าคนในวัย 18-24 ปีจะหูตึงมากขึ้น ใกล้เคียงกับคนแก่ที่หูเสื่อมไปตามวัย
ไม่เพียงแต่การใช้หูฟังเพื่อการฟังเพลงเท่านั้น พฤติกรรมการติดคุยโทรศัพท์มือถือ และการต้องใช้เสียงดังคุยกันในสถานที่ที่อึกทึก การต้องเผชิญกับมลภาวะทางเสียง เช่น เสียงเครื่องยนต์ ล้วนเป็นปัจจัยต่ออาการแก้วหูเสื่อม ซึ่งอาจเริ่มต้นจากอาการหูอื้อบ่อย ๆ ได้ยินเสียงแว่ว เสียงอื้ออึง หรือเสียงแตก ๆ ภายในหู
วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือการปกป้องหูจากเสียงดังภายนอก หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน รวมถึงการใช้ที่อุดหูสำหรับกิจกรรมในพื้นที่เสียงดัง เช่น ยิงปืน การทำงานกับเครื่องจักร และถ้าคุณยังรักการฟังเพลงแบบส่วนตัว ก็ขอแนะนำให้เปิดเสียงไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ ของเสียงสูงสุด และไม่ควรฟังเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
ประเทศไทยเองได้ออกมารณรงค์ให้คนหันมาตระหนักกับภาวะการสูญเสียการได้ยินมากขึ้น และการใช้ที่อุดหูเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลาย ๆ ประเทศต้องการรณรงค์ให้คนหันมาให้ความสำคัญพอ ๆ กับการคาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกกันน็อก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น