วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โรคเอ็มเอส โรคร้ายของหนุ่มสาว


โรคเอ็มเอส หรือ โรคปลอกประสาทอักเสบ หนุ่มสาววัยทำงานทั้งหลาย เคยมีอาการรู้สึกเหน็บชา ไม่มีแรง เห็นภาพซ้อน เดินทรงตัวผิดปกติบ้างไหมเอ่ย ถ้าเคยมีอาการดังที่กล่าวมา คุณอาจจะเสี่ยงต่อการเป็น โรคเอ็มเอส ได้ แล้ว โรคเอ็มเอส คืออะไรกันล่ะ ไปรู้จักกันดีกว่าค่ะ.....
โรคเอ็มเอส หรือโรคมัลติเพิล สเคอโรซิส (Multiple sclerosis : MS) หรือชื่อภาษาไทยว่า โรคปลอกประสาทอักเสบ เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งระบบประสาทส่วนกลางนี้จะประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา เมื่อเกิดการอักเสบ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง สำหรับในประเทศไทย พบผู้ป่วย โรคเอ็มเอส ได้ไม่มากนัก แต่ก็ถือว่า เป็นโรคที่มีความรุนแรง เพราะหากปล่อยไว้นาน ก็อาจพิการได้ถึงร้อยละ 50สาเหตุของ โรคเอ็มเอส สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคเอ็มเอส นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่า โรคเอ็มเอส เกิดจากปัจจัยหลัก คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการติดเชื้อ หรือได้รับเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียบางชนิด ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถแยกแยะได้ถูกต้อง ระหว่างเซลล์ร่างกายกับสิ่งแปลกปลอม ทำให้แทนที่ภูมิต้านทานจะทำลายเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว กลับไปทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทด้วย จนเกิดอาการอักเสบขึ้นมากลุ่มเสี่ยง โรคเอ็มเอส โรคเอ็มเอส มักพบมากในกลุ่มคนอายุน้อย วัยหนุ่มสาว หรือวัยทำงาน คือช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี ขณะที่อายุน้อยกว่า 12 ปี หรือมากกว่า 55 ปี พบผู้ป่วย โรคเอ็มเอส น้อยมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้หญิงเป็น โรคเอ็มเอส มากกว่าผู้ชายถึงครึ่งเท่าตัว เนื่องจากฮอร์โมนมีความแตกต่างกัน ปัจจุบันทั่วโลกพบผู้ป่วย โรคเอ็มเอส ประมาณ 2,500,000 คน และพบในประเทศไทยน้อยมาก ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วย โรคเอ็มเอส ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เป็นต้นอาการของ โรคเอ็มเอส ผู้ป่วย โรคเอ็มเอส จะมีอาการหลากหลาย ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดโรค เช่น หากเกิดที่เส้นประสาทตา จะส่งผลต่อการมองเห็น อาจสูญเสียการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่ง เนื่องจากเส้นประสาทตาอักเสบ จึงทำให้ปวดตา ตามัว ภายในเวลา 1-2 นาที หากเกิดที่ไขสันหลัง หรือสมอง อาจมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งตัว แขนขาไม่มีแรง เหน็บชา ปวด หรือปัสสาวะไม่ออก ขึ้นอยู่กับว่าเกิดที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนไหนของร่างกาย ถ้าเป็นที่สมองส่วนกลางที่ควบคุมการทรงตัว คนไข้อาจมีอาการหัวหมุน หรือวิงเวียนศีรษะได้แต่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ทั้งนี้หากเป็นมากอาจสูญเสียการเคลื่อนไหวของร่างกาย จนอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้ ใน ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ จะมีความผิดปกติทางสมองประมาณ 30-70% โดยเฉพาะด้านการกะระยะทาง ความจำ ความเร็วในการประมวลผล และการบริหารงาน ทั้งการแก้ปัญหา การวางแผน การจัดลำดับงาน เป็นต้น ทั้งนี้ โรคเอ็มเอส ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วย โรคเอ็มเอส แต่ละคนจะแสดงอาการแตกต่างกัน บางคนเป็นหนัก บางคนแสดงอาการเป็นครั้งคราว และผู้ป่วย โรคเอ็มเอส ไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะเกิดอาการขึ้นมาเมื่อไหร่ ลักษณะเช่นนี้จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามสามารถจำแนก โรคเอ็มเอส ตามรูปแบบและความถี่ของอาการได้ ดังนี้ 1.โรคเอ็มเอส ชนิดที่เป็นๆ หายๆ (Relapsing – Remitting MS หรือ RRMS) 2.โรคเอ็มเอส แบบที่อาการค่อยรุดหน้าในภายหลัง (Secondary Progressive MS หรือ SPMS) 3.โรคเอ็มเอส แบบที่มีอาการค่อยๆ รุดหน้าตั้งแต่เริ่ม (Primary Progressive MS หรือ PPMS) 4.โรคเอ็มเอส ระยะเริ่มแรก (Benign MS)การวินิจฉัย โรคเอ็มเอส การวินิจฉัย โรคเอ็มเอส ของแพทย์เฉพาะทางประกอบด้วยหลายวิธี คือ 1.การทดสอบทางประสาทวิทยา (Neurological examination) เช่น สอบถามประวัติอาการในอดีต ตรวจการทำงานของตา การทรงตัว การรับสัมผัส และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex action) เป็นต้น 2.การใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging; MRI) ตรวจสแกน ทำให้สามารถมองเห็นภาพของสมองหรือไขสันหลังตำแหน่งที่เยื่อไมอีลินถูกทำลายและมีการสลายตัวเห็นเป็นรอยแผลเป็นในภาพ 3.การทดสอบทางสรีระวิทยาไฟฟ้าของสมองที่เรียกว่า "Evoked potentials" คือ การตรวจสอบความเร็วจากสิ่งกระตุ้น เป็นต้นว่า เสียงหรือภาพที่ส่งไปยังสมอง หรือความเร็วของการสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะอื่นๆ ว่ามีความล่าช้ากว่าปกติหรือไม่อย่างไร 4.การเจาะไขสันหลังที่เรียกว่า "Lumbar puncture" เพื่อดูดเอาน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ไปตรวจ เพื่อพิสูจน์ว่าเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีจำนวนมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ามัน
ทำงานมากขึ้นเกิดปฏิริยาเล่นงานโจมตีประสาทส่วนกลางการรักษา โรคเอ็มเอส ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษา โรคเอ็มเอส ให้หายขาด เนื่องจากมีแผลเป็นในระบบประสาทเกิดขึ้น ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการ โดยชะลอให้อาการต่างๆ ทุเลาลง ด้วยการให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการอักเสบ หรือยาลดความรุนแรงของโรคในกลุ่ม Interferon bata หรือยากดภูมิคุ้มกันบางตัว แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงตามมา นอกจากนี้ยังมีการแพทย์ทางเลือกเพื่อจะช่วยทุเลาอาการ เช่น การฝังเข็ม (acupuncture), ไคโรแพรกติก (chiropractic),ใช้ยาสมุนไพร (herbal medicine),แนวการรักษาแบบโฮมิโอพาธี (homeopathy) และแนวการรักษาแบบออสทีโอพาธี (osteopathy) ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก โรคเอ็มเอส ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นคนที่เคยเป็นแล้ว ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพื่อเป็นการป้องกันการเป็นซ้ำ และลดความรุนแรงของโรค ผู้ป่วย โรคเอ็มเอส จึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการซ้ำ ข้อปฏิบัติตัวในการป้องกัน โรคเอ็มเอส เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดของ โรคเอ็มเอส อย่างแน่ชัด ทำให้ไม่ทราบว่าจะป้องกัน โรคเอ็มเอส นี้ได้อย่างไร ดังนั้นการดูแลสุขภาพตัวเอง ทั้งใจและกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ อย่าเครียด เพราะจะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ สิ่งเหล่านี้คือวิธีป้องกัน โรคเอ็มเอส ที่ดีที่สุดค่ะขอขอบคุณ