วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

รุ้ง


ก่อนที่ความลับของมันจะถูกเปิดเผยในทางวิทยาศาสตร์ เราสามารถพบเรื่องราวของรุ้งได้ในเรื่องเล่าของวัฒนธรรมต่างๆ แต่ละวัฒนธรรมล้วนมีทฤษฎีของตัวเองที่ใช้อธิบายการเกิดของมัน รุ้งมีชื่อเรียกแตกต่างกันมากมายเช่น ลิ้นพระอาทิตย์ (the tongue of the sun), วิถีแห่งคนตาย (road of the dead), สะพานสายฝน (bridge of the rain), ชายเสื้อแห่งสุริยเทพ (hem of the sun-god's coat), วิถีแห่งเทพสายฟ้า (road of thunder god), สะพานเชื่อมโลกและสวรรค์ (bridge between heaven and earth), หน้าต่างสวรรค์ (window to heaven) และคันศรของพระเจ้า (bow of God) ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่ารุ้งเป็นข้อสัญญาหรือคำสัญญาของพระเจ้าที่ให้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดว่าโลกจะไม่ถูกทำลายจากน้ำท่วมอีกครั้ง


รุ้งกับความเชื่อ
ยังมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับรุ้งเช่นกัน ชนเผ่าหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้เชื่อว่า รุ้งที่เกิดในทะเลถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามันเกิดขึ้นบนบก มันจะเป็นสัญญาณของวิญญาณชั่วร้ายที่กำลังมองหาเหยื่อ ในแถบยุโรปตะวันออก มีความเชื่อกันว่า นางฟ้าใส่ทองคำไว้ที่ปลายรุ้ง และจะมีเพียงมนุษย์ที่เปลือยเปล่าเท่านั้นที่จะพบทองนั้น เรื่องเล่าเก่าแก่ของชาวโรมาเนียอ้างว่า ที่ปลายของรุ้งที่ตกในแม่น้ำ ใครที่คลานไปและดื่มน้ำบริเวณดังกล่าวจะกลายร่างเป็นเพศตรงข้ามทันที เรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกันกล่าวว่าใครที่ลอดผ่านโค้งรุ้งจะเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้ามได้ ในประเทศไทยเองก็มีความเชื่อที่ว่าถ้าชี้นิ้วไปที่รุ้ง นิ้วนั้นจะกุดหรือหายไป
ถึงแม้ว่ารุ้งจะปรากฏอยู่ในเรื่องเล่า ความเชื่อเหนือธรรมชาติ และศาสนาก็ตาม แต่ก็มันก็มีเหตุผลง่ายๆ ที่ทำให้มันเกิดขึ้น รุ้งเป็นผลจากการที่แสงหักเหและสะท้อนออกมาจากเม็ดฝน ในรุ้งปฐมภูมิ (primary rainbow) สีแดงจะอยู่นอกสุดและสีม่วงจะอยู่ในสุดของวง รุ้งทุติยภูมิ (secondary rainbow) จะมีสีที่จางกว่าและมักจะเห็นว่ามันอยู่เหนือ (หรือด้านนอก) ของรุ้งปฐมภูมิ ลำแสงในรุ้งทุติยภูมิจะสัมผัสกับเม็ดฝนในมุมที่สูงกว่ารุ้งปฐมภูมิและมีการสะท้อนถึงสองครั้ง สิ่งนี้เองที่ทำให้สีของรุ้งทุติยภูมิจางกว่าและสีสันจะเรียงกลับกันกับรุ้งปฐมภูมิโดยสีแดงจะอยู่ด้านในสุดและสีม่วงจะอยู่นอกสุดนั่นเอง

ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower )


ฝนดาวตกเจมินิดส์ ( Geminids Meteor Shower ) หรือฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 6 – 19 ธันวาคมของทุกปี และวันที่ตกจะตกมากที่สุดคือวันที่ 13 -14 ธันวาคม มีอัตราการตกประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง จุด Radiant ใกลักับดาวคาสเตอร์ (Castor ) ปริมาณดาวตกในวันที่ตกชุกที่สุด 80 จุดเรเดียน อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ( Gemini ) ต้นกำเนิดฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากแกนกลางของดาวหางที่สลายตัวหมดแล้วกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย 3200Phaethon
ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) เป็นฝนดาวตกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาฝนดาวตกที่ปรากฏในรอบปี หากไม่นับฝนดาวตกลีโอนิดส์ ซึ่งจะปรากฏให้เห็น ตระการตาทุก ๆ 33-34 ปี เจมินิดส์มีปรากฏให้เห็นในช่วงวันที่ 6-19 ธันวาคม แต่จะมีจำนวนดาวตกสูงสุดในคืนวันที่ 13-14 โดยมีจำนวน ดาวตกสูงสุด 80-100 ดวง/ชั่วโมง อุกกาบาตมีความเร็ว 35 กิโลเมตร/วินาที และมีไฟร์บอล โดยมีเรเดียนท์อยู่ใน "กลุ่มดาวราศีมิถุน" หรือ "กลุ่มดาวคนคู่" (Gemini)
ฝนดาวตกเจมินิดส์มีความแตกต่างจากฝนดาวตกทั่วไป คือมิได้กำเนิดจากธารอุกกาบาตของดาวหาง แต่มันกำเนิดจากธารอุกกาบาตของ ดาวเคราะห์น้อย "3200 ฟีธอน" (3200 Phaethon) อุกกาบาตจึงมีขนาดใหญ่ และมีคาบการเกิดดาวตกยาวนาน เราสามารถมองเห็น ดาวตกจำนวนมากได้ 2-3 วัน ก่อนและหลังวันที่มีจำนวนดาวตกสูงสุด
เจมินิดส์นับเป็นฝนดาวตกที่เหมาะสมน่าจับตาที่สุดสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นฝนดาวตกที่มีดาวตกจำนวนมาก และเกิดขึ้นในฤดูหนาว ซึ่งอากาศดีและท้องฟ้าใส นอกจากการนับดาวตกแล้ว ท่านยังสามารถเพลิดเพลินกับการดูทางช้างเผือก และกลุ่มดาวสว่างที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก