1. ย่อตัวให้อยู่ในระดับเดียวกับสิ่งที่จะถ่าย - ถือกล้องในระดับเดียวกับระดับสายตาของแบบ เพื่อเก็บภาพที่แสดงถึงพลังของการเพ่ง มองที่น่าดึงดูด และรอยยิ้มที่น่าหลงใหล- ถ้าแบบเป็นเด็กหรือสัตว์เลี้ยง เพียงย่อตัวลงให้อยู่ระดับเดียวกับพวกเขาเมื่อถ่ายภาพ- แบบไม่ต้องมองตรงมายังกล้อง มองไปมุมใดก็ได้ คุณก็สามารถเก็บอารมณ์ของแบบที่ น่าประทับใจได้
2. อย่าให้ฉากหลังดูรุงรัง
- ก่อนถ่ายภาพ สังเกตมองพื้นที่หลังแบบว่าเรียบหรือรกรุงรัง- ระวังกิ่งไม้ที่อาจจะอยู่ด้านหลังศีรษะของแบบ- ฉากหลังที่รก ระเกะระกะน่ารำคาญ ในขณะที่ฉากหลังเรียบจะช่วยเน้นให้แบบโดดเด่น
3. ใช้แฟลชเมื่อถ่ายกลางแจ้ง - แม้จะถ่ายรูปกลางแจ้ง การใช้แฟลชก็ยังช่วยให้ภาพดูดีขึ้นได้- ขณะแสงแดดจ้า การใช้แฟลชจะช่วยทำให้เงาดำใต้ตาและใต้จมูกสว่างขึ้น โดยเฉพาะ ช่วงที่พระอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะหรืออยู่ด้านหลังแบบ- ในวันที่ฟ้ามีเมฆ การใช้แฟลชจะทำให้หน้าของแบบกระจ่างสดใสขึ้น และช่วยให้แบบ โดดเด่นจากฉากหลัง
4. เข้าไปใกล้อีกนิด - เพื่อสร้างรูปถ่ายที่ประทับใจ ขยับเข้าไปอีกและทำให้แบบอยู่เต็มภาพ- การขยับเข้าใกล้แบบ หรือใช้ซูมจนกระทั่งแบบเต็มช่องมองภาพ จะช่วยให้คุณตัดฉาก หลังที่จะลดความโดดเด่นของแบบออกไป และยังแสดงรายละเอียดของแบบได้เต็มตา ด้วย- สำหรับแบบขนาดเล็ก เลือกใช้โหมด "มาโคร" หรือ "ดอกไม้" เพื่อจะได้ภาพโคลสอัพ (close-ups) ที่คมชัด
5. ลองถ่ายภาพในแนวตั้ง- มีแบบมากมายที่ดูสวยงามกว่าหากถ่ายในแนวตั้ง จากหอไอเฟิลไปจนถึงรูปถ่ายเพื่อน ของคุณ- ทดลองตั้งกล้องเพื่อถ่ายรูปแนวตั้งบ้าง
6. ล็อคโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพคมชัด- การล็อคโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพคมชัดของแบบที่ไม่อยู่กลางภาพ ทำได้ดังนี้1. เล็งแบบให้อยู่ตรงกลางภาพ2. กดชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งเพื่อให้กล้องโฟกัสที่แบบ3. จัดองค์ประกอบภาพใหม่ (โดยยังกดชัตเตอร์ค้างอยู่)4. กดชัตเตอร์ถ่ายภาพ
7. ไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพ- เพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพของคุณอย่างง่ายดาย โดยการเลื่อนแบบออกจากบริเวณกลางภาพ- ลองจินตนาการตาราง โอเอ็กซ์ (มีเก้าช่อง) ในช่องมองภาพและวางแบบตรงจุดตัด ของเส้น- เนื่องจากกล้องส่วนใหญ่จะโฟกัสตรงกลางภาพ ดังนั้น อย่าลืมใช้เคล็ดการล็อคโฟกัส ก่อนที่จะจัดกรอบภาพใหม่
8. รู้ระยะแฟลช
- ภาพถ่ายที่ได้จากการถ่ายแบบเกินระยะทำการของแฟลช จะมืดเกินไป- กล้องส่วนมากจะมีระยะทำการแฟลชแค่ 10 ฟุต หรือประมาณ 4 ก้าว ควรอ่านคู่มือเพื่อ ให้แน่ใจ- ถ้าแบบที่ต้องการถ่ายอยู่ห่างจากกล้องเกิน 10 ฟุต ภาพถ่ายที่ได้อาจมืดเกินไป
9. สังเกตแสง-เงา - แสงที่ดีทำให้ได้ภาพถ่ายที่ดี ควรศึกษาผลของแสงในภาพถ่ายของคุณ- สำหรับการถ่ายภาพคน ควรเลือกแสงนุ่มๆ ของวันที่มีเมฆ หลีกเลี่ยงแสงแดดที่ส่องตรง ศีรษะ เพราะจำเกิดเงาดำเข้มบนใบหน้า- สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้แสงเงาและสีของแสงแดดในช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเย็น
10. เป็นผู้กำกับ- ใช้เวลาเพิ่มอีกสักนิดในการถ่ายภาพ เสมือนคุณเป็นผู้กำกับภาพ ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ถ่าย ภาพ- เพิ่มของประกอบฉาก (Prop) หรือจัดแบบใหม่ หรือลองมุมกล้องที่ต่างจากเดิม- ให้แบบมาอยู่ด้วยกันและปล่อยให้พวกเขาแสดงบุคคลิกของตัวเองออกมา และคุณจะ เห็นว่าภาพถ่ายของคุณดูดีกว่าเดิมอย่างมหัศจรรย์ ข้อมูลจาก exstory.exteen.com