วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

การออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานความเครียดให้กับสมอง


การออกกำลังกายสามารถเสริมสุขภาพจิตใจให้ดีขึ้นได้ โดยช่วยให้สมองสามารถจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น ตามรายงานการศึกษาวิจัยเรื่องการออกกำลังกายกับสารเคมีในสมองในการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย.....
หลักฐานในขั้นต้นชี้ว่า คนที่มีร่างกายกระฉับกระเฉงมีความวิตกกังวลและอารมณ์เศร้า ต่ำกว่าคนที่ชอบอยู่เฉยๆ แต่ในงานวิจัยบางงานให้ความสำคัญกับเหตุผลที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นมากกว่า ดังนั้น เพื่อจะบอกว่า การออกกำลังกาย ส่งผลให้คนมีสุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไรนั้น นักวิจัยหลายท่านพยายามหาความเชื่อมโยงระหว่างการออกกำลังกาย กับระบบสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์เศร้าที่ผ่านมามีหลักฐานสนับสนุนแนวคิดเดิม ที่ว่าการออกกำลังกายทำให้เกิดสารเอนโดรฟิน (Endorphins) แต่มีงานวิจัยบางส่วนที่ชี้ไปยังสารสื่อประสาทอีกชนิด ที่ชื่อไม่ค่อยคุ้นหูนัก ซึ่งก็คือ นอร์อิพิเนพรีน (norepinephrine) ที่สามารถช่วยให้สมองสามารถจัดการกับความเครียดได้ดียิ่งขึ้นการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองตั้งแต่ปลายยุค 80 พบว่าการออกกำลังกาย เพิ่มความเข้มข้นของ นอร์อิพิเนพรีน (norepinephrine) ในสมอง โดยเฉพาะในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับปฏิกริยาตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายนอร์อิพิเนพรีน (norepinephrine) เป็นที่สนใจแก่นักวิจัยเป็นพิเศษ เนื่องจาก ร้อยละห้าสิบของอาหารสมอง ถูกผลิตใน บริเวณ โลคัสคอรึลัส (locus coeruleus) ซึ่งเป็นบริเวณเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การตอบสนองทางอารมณ์และ ความเครียดสารสื่อประสาทนอร์อิพิเนพรีน ได้รับพิจารณา ว่ามีบทบาทสำคัญในการทำให้ปฏิกริยาของ สารสื่อประสาทอื่นเบาบางลง โดยเฉพาะ สารสื่อประสาทอื่นที่พบได้บ่อยๆในการตอบสนองต่อความเครียดและถึงแม้นักวิจัยจะยังไม่แน่ใจอย่างชัดเจน ว่ายาต้านอารมณ์เศร้า(antidepressant) ทำงานอย่างไร แต่เหล่านักวิจัยเหล่านั้นก็ทราบว่าบางส่วนของมันเพิ่มความเข้มข้น ของ นอร์อิพิเนพรีน ในสมองอย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาบางท่าน ไม่คิดว่ามันจะเป็นสมการง่ายๆ ว่า การที่ระดับของ นอร์อิพิเนพรีน เพิ่มขึ้น จะเท่ากับความเครียดและอารมณ์เศร้าลดลงโดยนักจิตวิทยากลับคิดว่า การออกกำลังกายสามารถยับยั้งอารมณ์เศร้า และความวิตกกังวลได้โดยการ เพิ่มความสามารถของร่างกายในการตอบสนองต่อความเครียดตามหลักทางด้านชีววิทยาแล้ว การออกกำลังกายดูจะให้โอกาสร่างกายในการฝึกต่อกรกับความเครียด โดยช่วยให้ระบบร่างกาย (ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความเครียด) สื่อสารกับระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งหมดนี้ควบคุมโดยระบบสมองส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ทำงานประสานกันผลที่ได้รับจากการทำงานประสานกันด้วยดีของร่างกาย อาจเป็นคุณค่าที่แท้จริงที่ได้จากการออกกำลังกายก็เป็นได้ยิ่งร่างกายเฉื่อยชาเท่าใด ร่างกายยิ่งสนองตอบความเครียดได้ด้อยประสิทธิภาพลงเท่านั้น