วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันรักต้นไม้แห่งชาติ


เป็นวันสำคัญของไทยที่มีความหมายน่ารักและน่าภูมิใจไม่น้อย สำหรับ "วันรักต้นไม้แห่งชาติ" ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี แต่เอ...เพื่อน ๆ รู้หรือเปล่าคะ ว่าวันดี ๆ แบบนี้ มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และใครกันที่เป็นผู้กำหนด วันรักต้นไม้แห่งชาติ ขึ้นมา??? อ่ะ อ่ะ….ไม่ต้องสงสัยกันไป เพราะเนื่องในโอกาส วันรักต้นไม้แห่งชาติ กระปุกจะพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบเรื่อง วันรักต้นไม้แห่งชาติ กันค่ะ.....
วันรักต้นไม้แห่งชาติ หรือ "วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ" (National Annual Tree Care Day) ถือกำเนิดขึ้นจากแรงปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ที่ทรงให้ความสำคัญการบำรุงรักษาต้นไม้และต้องการฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติ โดยพระองค์ทรงปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยพระองค์เองมาตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2533 กำหนดให้ วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็น "วันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ"

ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการระดมความเห็นจากบุคคลทั่วไป เพื่อกำหนดชื่อที่เหมาะสมสำหรับวันดังกล่าว ปรากฏว่าชื่อ "วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ" ได้รับการพิจารณา ทำให้ "วันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ" ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น "วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ" หรือ “วันรักต้นไม้แห่งชาติ” ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2533 เป็นต้นมา

สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการกำหนด วันรักต้นไม้แห่งชาติ ขึ้นมานั้นก็เพื่อบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามโครงการและสถานที่ต่าง ๆ ให้เติบโตแข็งแรง ดังที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกแล้วมากกว่าการปลูกต้นไม้ใหม่ ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นตัวอย่างได้ชัดเจนว่ามีโครงการปลูกป่าต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การติดตามดูแลรักษาโครงการที่เกิดขึ้นไปแล้วนั้นมีน้อยมาก

ทั้งนี้ หากปล่อยให้ต้นกล้าที่เราตั้งใจหย่อนรากลงดินเจริญเติบโตเองตามยถากรรม ต้นกล้าน้อย ๆ ที่หวังว่าจะเติบโตช่วยให้ร่มเงา ช่วยลดภาวะโลกร้อน ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างพื้นที่สีเขียว ฯลฯ อาจต้องมีอันเป็นไปเสียก่อนที่จะได้ทำหน้าที่ของมัน หรืออาจไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น โครงการปลูกต้นไม้ที่ทำกันมา ก็จะเป็นการเสียทั้งงบประมาณ เสียทั้งเวลา แรงกายแรงใจที่ทุ่มเทลงไปก็สูญเปล่า เพียงเพราะเราไม่ได้ติดตามบำรุงรักษาต้นไม้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

นอกจากเหตุผลหลักดังกล่าวแล้ว วันรักต้นไม้แห่งชาติ ยังเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

1. เพื่อบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามโครงการและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งการปลูกซ่อมต้นที่ตาย ให้สามารถเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยเร็ว

2. เพื่อชี้นำให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันบำรุงรักษาต้นไม้ ที่ปลูกไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยพร้อมเพรียง

3. เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการบำรุงต้นไม้ที่ปลูกไว้ อันจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว

4. เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นราชสักการะ แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดให้มีการบำรุงต้นไม้ทุกปี

ส่วนการจัดกิจกรรมใน วันรักต้นไม้แห่งชาติ จะถูกจัดขึ้นทุกปี โดยกรมป่าไม้ จะกำหนดให้จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ จัดกิจกรรม วันรักต้นไม้แห่งชาติ รณรงค์ให้ทุกคนมาร่วมกันบำรุงรักษาต้นไม้ เช่น การให้ปุ๋ย พรวนดิน ถากถางวัชพืชที่โคนต้นไม้ ฯลฯ


...แล้วอย่าลืมมาร่วมกัน รักษ์ต้นไม้ ในวันสำคัญ วันรักต้นไม้แห่งชาติ 21 ตุลาคม นี้ พร้อม ๆ กันทั่วประเทศนะคะ

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

8 วิธี ฟื้นฟูจิตใจ


ไม่ว่าคุณจะเศร้า เหงา กังวล ท้อแท้ หวาดกลัว หรือผิดหวัง เมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรค อย่าเพิ่งถอดใจยอมแพ้นะคะ ชีวิตนี้ยังมีเรื่องดีๆ รออยู่อีกมากมาย วันนี้มีเคล็ดลับฟื้นฟูจิตใจ ให้คลายจากความเครียด วิตกกังวล และหมองเศร้า ถือเป็นการปัดฝุ่นละอองในหัวใจ ...ลดความขุ่นมัวในอารมณ์

1) ทำอะไรช้าลง เช่น ออกเดินทางไปที่นัดหมายเร็วกว่าปกติ 10 นาที ชีวิตจะเร่งรีบน้อยลงและเครียดน้อยลง


2) ใกล้ชิดธรรมชาติ ต้นไม้จะช่วยเพิ่มความมีชีวิตชีวา และเป็นกุญแจไขไปสู่ความสุข


3) หาสัตว์มาเลี้ยง เพื่อผ่อนคลายความเครียด และช่วยคลายเหงา เช่น สุนัข, แมว และปลาทอง


4) ยิ้มสู้เข้าไว้ การยิ้มหรือหัวเราะ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาน้อยลง


5) ให้รางวัลความสำเร็จกับตัวเอง หาเวลาพักสักนิดจิบชากาแฟสักหน่อย ก่อนจะเริ่มลุยงานชิ้นต่อไป

6) อย่ากลัวที่จะเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ เมื่อรู้สึกว่าเก็บกดทนไม่ไหว หาตัวช่วยด่วนจี๋ อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นขยะอารมณ์


7) อ่านหนังสือ ไม่มีอะไรจะหันเหความเศร้าได้ดีไปกว่าการอ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม


8) ใช้วันหยุดให้เป็นประโยชน์ ถ้าเครียดนัก ลองลาพักร้อนยาวๆ จะช่วยทำให้สมองโล่ง จิตใจสงบขึ้น

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เล็กๆ น้อยๆ เรื่องการนอน


ไปอ่านเจอบทสัมภาษณ์ของ Dr Neil Stanley - ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนอน ในคอลัมน์ " Take it from an expert " ของ Times Online คิดว่าน่าสนใจดีเพราะส่วนตัวเป็นคนที่นอนดึก(มาก)ตื่นสาย แอบกังวลนิดๆว่าจะเป็นอะไรต่อสุขภาพรึเปล่า (โดยเฉพาะเรื่องแก่เร็ว " นี้วิตกหนักเลยค่ะ) และต่อไปนี้คือความรู้และเคล็ดลับเล็กๆน้อยในเรื่องการนอนที่อาจช่วยให้คุณ หลับสบายขึ้น.....
1.หลายคนคงคุ้นกับประโยคที่บอกว่า “ ควรนอนไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ” ใช่ ไหมค่ะ แต่ดร. Neil บอกว่าจริงๆแล้วไม่มีกฎตายตัวว่าต้องนอนนานเท่าไหร่ มันแล้วแต่บุคคล ถ้าอยู่ในระหว่าง 3 – 11 ชั่วโมงถือว่าใช่ได้ไม่ผิดปรกติอะไร ถ้าอีกวันตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่นสดใส สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ถือว่าโอเคแล้ว
2. เรื่องเวลานอนที่จริงแล้วไม่ค่อยสำคัญ สิ่ง ที่ควรสนใจคือคุณได้ใช้เวลาไปกับการหลับลึกมากแค่ไหนต่างหาก ซึ่งช่วงหลับลึกจะกินเวลาหนึ่งในสามแรกของการนอนและเป็นช่วงที่ร่างกายได้ รับการพักผ่อนมากที่สุดค่ะ มันไม่จริงหรอกค่ะที่นอนตอนสี่ทุ่มจะดีกว่าตอนห้าทุ่ม ข้ออ้างนี้มันสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เอาไว้ใช้ไล่ให้ลูกไปเข้านอน
3. สำหรับเรื่องการนอนไม่หลับ ดร. Neil บอกว่าส่วนตัวแล้วเขาเป็นคนหลับง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าเกิดคุณนอนไม่หลับหรือสะดุ้งตื่นกลางดึก อย่ามั่วแต่นอนพลิกไปพลิกมา ลองหยิบหนังสือที่มีเนื้อหาสบายๆไม่เร้าอารมณ์มากมาอ่าน ถ้าร่างกายคุณยังคงต้องการการพักผ่อน มันก็จะง่วงขึ้นมาเอง
4. ดร. Neil กับภรรยาแยกเตียงกันนอน เขา บอกว่า “ การนอนเป็นสิ่งเห็นแก่ตัวที่สุดที่คุณสามารถทำได้ ” ถ้าแยกกันนอนกับคนรักแล้วสบายตัวสบายใจหลับฝันได้ ก็แยกเตียงเถอะ ดีกว่าทนฟังเสียงกรน ดมตด หรือถูกคนรักเตะตลอดทั้งคืน ส่วนใครที่กังวลว่าทำแบบนี้มันจะมีผลกระทบต่อชีวิตคู่รึเปล่า คำตอบคือไม่ค่ะ ... ซึ่ง ดร. Neil กล่าวไว้ว่า" ไม่ได้นอนด้วยกัน ไม่ใช่ปัญหา .... แต่ไม่มีเซ็กซ์กันตั้งหากที่เป็น! "

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สอนลูกรู้จักใช้จ่าย


อาจด้วยสังคมของวัยรุ่นปัจจุบันมัก ให้ความสำคัญกับวัตถุสิ่งของ รวมถึงต้องการมีสิ่งของเครื่องใช้ในแบบที่เพื่อนมี ดังนั้น พ่อแม่จึงควรหาแนวทางป้องกันมิให้ลูกหลงไปกับวัตถุสิ่งของมากจนเกินไปโดย.....

ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี พ่อแม่ควรมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักคุณค่าของเงินเพื่อให้ลูกได้เห็นแบบอย่างที่ดี ควรพูดคุยกับลูกถึงรายรับรายจ่ายของครอบครัว เพื่อให้ลูกทราบว่าสถานะการเงินเป็นเช่นไร มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอะไรบ้างในครอบครัว และเขาควรใช้จ่ายเงินอย่างไร

ไม่ควรตามใจลูกมากเกินไป การซื้อของทุกอย่างที่ลูกอยากได้ เป็นการเพาะนิสัยการใช้จ่ายที่ไม่ถูกต้องให้ลูก การใช้เงินมากเกินไปขณะที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเองทำให้ลูกติดนิสัย ฟุ่มเฟือย และในอนาคตหากเขาต้องทำงานและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง อาจทำให้รายได้ไม่พอใช้ จนต้องมีหนี้สิน ซึ่งจะเป็นผลร้ายต่อตัวลูก

ปลูกฝังค่านิยมทางจิตใจมากกว่าทางวัตถุ พ่อแม่ควรพูดคุยให้ความสำคัญและปลูกฝังให้ลูกเห็นความสำคัญและคุณค่าทางจิต ใจมากกว่าสิ่งของเงินทอง ควรเป็นตัวอย่างในการแสวงหาความสุขทางใจ โดยไม่พึ่งเงินทองเช่น แสดงน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักการให้อย่างมีความสุข ไม่ยึดติดกับวัตถุสิ่งของ ไม่ดูถูกหรือเห็นคนอื่นด้อยค่า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกมีจิตใจละเอียดอ่อนเข้าใจและเห็นคุณค่าของคน

ให้ลูกเรียนรู้คุณค่าของเงิน โดยอาจให้ลูกทำงานพิเศษหากเขาต้องการซื้อของที่มีราคาแพง เพื่อช่วยให้ลูกเรียนรู้ถึงความยากลำบากในการหาเงินเมื่อเทียบกับการใช้จ่าย ที่ไม่จำเป็น

การ สอนให้ลูกรู้จักใช้จ่ายเงินทอง ช่วยให้ลูกเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกรู้จักคิดรู้จักที่จะใช้จ่ายอย่างมีคุณค่า มิใช่ซื้อข้าวของเพียงเพราะความสวยงามหรือตามแฟชั่น

ขอบคุณข้อมูลจาก สยามดารา

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันออกพรรษา


หลังเทศกาลเข้าพรรษาผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน ก็จะเป็น วันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้.....
วัน ออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรื ออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี ทั้ง นี้เมื่อทำพิธี วันออกพรรษา แล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ ไปไหนไม่ต้องบอกลา
ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก 4 เดือน
ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ
1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา
หลัง วันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน
ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้
สมัย พุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
โดย พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้
2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา
งาน เทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี
งาน เทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเพณี วันออกพรรษา ในแต่ละภาค
นอกจากนี้ในแต่ละภาคก็จะมีประเพณีที่ต่างกันไป
วันออกพรรษา ภาคกลาง
จังหวัด นครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร
จังหวัด อุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต
แต่ สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล
ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ พิธีชักพระทางบก
ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1 - 2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานีก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย
พิธีชักพระทางน้ำ
ก่อน ถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ โดยการนำเรือมา 2 - 3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานก็จะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วมจะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน
ใน เขตที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตแม่น้ำลำคลองก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือนจะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต
กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา
1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์
โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้
เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
การ ทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
ได้ ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
เป็น การให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ดัง นั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Google Wave ของเล่นใหม่จากูเกิ้ล


เชื่อว่า คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของ Google wave มาบ้าง แต่ก็ยังไม่เคยได้เห็นหน้าตาของมันสักที ยังความสงสัยให้เหลือกำลังว่า เจ้า Google Wave ที่ว่านี้มันทำอะไรกันแน่ ล่าสุดทางกูเกิ้ลได้จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำเบื้องต้นสำหรับการทำงานของเครื่องมือออนไลน์ตัวใหม่นี้แล้ว.....
กูเกิ้ล เวฟ (Google Wave) เป็นเครื่องมือออนไลน์สำหรับการสื่อสารแบบเรียลไทม์ (communication) และการทำงานร่วมกัน (collaboration) ของกูเกิ้ล โดยการทำงานพื้นฐานของเครื่องมือดังกล่าว มันจะทำหน้าทีเป็นไคลเอ็นต์สำหรับการใช้บริการข้อความ (messaging) ที่ผู้ใช้สามารถใส่สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร, วิดีโอ และรูปภาพเข้าไปได้โดยตรงระหว่างที่ทำการสนทนากับสมาชิกในกลุ่มได้ (ดูเหมือนมันจะเป็น IM ที่เก่งมาก โดยสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแชร์สื่อบอกเล่าเก้าสิบกับกลุ่มผู้ใช้ในเครือข่ายได้อย่างง่ายดายด้วยรูปแบบเรียลไทม์)
นอกจากแชร์สื่อข้างต้นแล้ว Google API ของบริการยังเปิดโอกาสให้สามารถแชร์ Social Gadget อย่างเลือกกลุ่มเพื่อน เพื่อชวนมาเล่นแก็ดเจ็ตที่เป็นเกมส์ด้วยกันได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย...เล่าให้ฟังอาจจะไม่เห็นภาพเท่ากับดูคลิปพรีวิวที่นำมาฝากกันนะครับ รับรองว่า คุณต้องชอบเหมือนผมอย่างแน่นอน